🌈 #Puu 🦀⚓⛵🛬 (/≧▽≦)/~┴┴ 🌿☘️ ☆*:.。.

Tuesday, October 22, 2024
23 October
King Chulalongkorn Day
๒๓ ตุลาคม "วันปิยมหาราช"
Sunday, October 13, 2024
💛 13 October
H.M. King
Bhumibol Adulyadej
The Great Memorial Day.
🎗๑๓ ตุลาคม
"วันนวมินทรมหาราช"🙏
Born on 5 December 1927, His Majesty the late King Bhumibol Adulyadej died on 13 October 2016. The late King took the throne in 1946, reigned for 70 years, and came to be called “Father of the Nation”. After a long struggle with illness, the king finally
passed away, at the age of 88.
Bhumibol Adulyadej
Bhumibol Adulyadej[b] (5 December 1927 – 13 October 2016), posthumously conferred with the title King Bhumibol the Great,[c][2][3][4][5] was the ninth king of Thailand from the Chakri dynasty, titled Rama IX, from 1946 until his death in 2016. His reign of 70 years and 126 days is the longest of any Thai monarch, the longest of an independent Asian sovereign and the third longest verified reign of any monarch of a sovereign state in history after Louis XIV and Elizabeth II.
Thai Name : ภูมิพลอดุลยเดช
RTGS : Phumiphon Adunyadet
Born in the United States, Bhumibol spent his early life in Switzerland, in the aftermath of the 1932 Siamese revolution which topped the centuries' old Thai absolute monarchy ruled by his uncle King Prajadhipok (Rama VII). He ascended to the throne in June 1946, following the death of his brother King Ananda Mahidol (Rama VIII), who died under mysterious circumstances.
During the course of his rule, Bhumibol presided over Thailand's transformation into a major U.S. ally and a regional economic power. Between 1985 and 1994, Thailand was the world's fastest growing economy according to the World Bank and was proclaimed by many international journalists in the 1990s as the next "Asian Tiger". Within the same timeframe, the country also witnessed the emergence of an urban middle class as well as mass political participation in its electoral politics. However, such rapid economic growth ultimately came to an end due to the 1997 Asian financial crisis and the onset of political instability within Thailand during the 2000s. Bhumibol's reign was also characterized by several periods of gradual democratization punctuated by frequent military
coups, the last of which occurred in 2014.
Forbes estimated Bhumibol's fortune—including property and investments managed by the Crown Property Bureau, a body that is neither private nor government-owned (assets managed by the Bureau were owned by the crown as an institution, not by the monarch as an individual)—to be US$30 billion in 2010, and he headed the magazine's list of the "world's richest royals" from 2008 to 2013 In 2014, Bhumibol's wealth was again listed as US$30 billion.
After a period of deteriorating health which left him hospitalized on several occasions, Bhumibol died in 2016 at Siriraj Hospital. He was highly revered by the people in Thailand—some saw him as close to divine.Notable political activists and Thai citizens who criticized the king or the institution of monarchy were often forced into exile or suffered frequent imprisonments.His cremation was held in 2017 at the royal crematorium at Sanam Luang.His son, Vajiralongkorn, succeeded him as King Rama X of Thailand.
#13 #October #2024
#H.M. #King #Bhumibol
#Adulyadej #Great
#Memorial #Day
#Rama #IX
#KingBhumibolAdulyadej
#Thaland #🇹🇭
(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️
๑๓ ตุลาคม "วันนวมินทรมหาราช"
💛 ธ สถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์🙏
เป็นปีที่ ๗ ของวันสวรรคตรัชกาลที่ ๙ หรือเรียกว่า
"สัตตมวรรษ" เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรม
ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเป็นล้นพ้น
อย่างหาที่สุดมิได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตามที่รัฐบาลได้ขอพระราชทานพระมหากรุณา และคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๖ ให้กำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ ๑๓ ตุลาคมของทุกปี
ว่า "วันนวมินทรมหาราช" ซึ่งแปลว่า วันที่ระลึกถึง
พระมหาราชรัชกาลที่ ๙ ผู้ยิ่งใหญ่
บพิตร สมเด็จพระบรมชนกนาถ เนื่องในการพระราชพิธี บรมราชาภิเษก พ.ศ.๒๕๖๒ ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร" ทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระโอรสพระองค์เล็กใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตต์ สหรัฐอเมริกา
เสด็จขึ้นครอง สิริราชสมบัติต่อจาก สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ทรงดำรงสิริราชสมบัติ ๗๐ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ สิริพระชนมายุ ๘๘ พรรษา ๑๐ เดือน ๘ วัน
พ.ศ.๒๔๙๒ ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (พระธิดาใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทยใน พ.ศ.๒๔๙๓ แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ วังสระปทุม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็น "สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์"
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จผ่านพิภพในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ ว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร"
ในโอกาสนี้ พระราชทานพระปฐมบรมราชโองแก่ปวงชนชาวไทยว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม"
เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ต่อมา พ.ศ.๒๔๙๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เฉลิมพระนามาภิไธย เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประชาชนชาวไทยใต้ร่มพระบารมีต่างมีความผาสุกร่มเย็น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณและน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยในชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรที่ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อน
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อก่อเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาติและประชาชน ทรงอุทิศเวลาในการเสด็จพระราชดำเนินไป ยังท้องถิ่นทุรกันดารในภูมิภาคต่างๆ เพื่อช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น
พระรชกรณียกิจตลอดระยะเวลา ๗๐ ปีที่ครองราชย์
พระราชกรณียกิจ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาค้นคว้าเรื่อง "น้ำ" ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ การจัดการน้ำใต้ดิน การแก้ไขปัญหาอุทกภัย ซึ่งถือเป็นยุคทองของระบบการชลประทานไทย ที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเสียทั่วประเทศ ตัวอย่างโครงการพระราชดำริที่สำคัญ คือ โครงการฝนหลวง เป็นโครงการที่ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง และฝนไม่ตกในพื้นที่เกษตรที่ต้องการ นอกจากนี้ โครงการแก้มลิง เป็นโครงการที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมและเป็นที่พักน้ำก่อนจะระบายสู่ทะเล เป็นต้น
พระราชกรณียกิจ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรดิน
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อการแก้ปัญหาดิน ทั้งดินปนทราย ดินเปรี้ยว ดินเค็ม และการพังทลายของดิน เพื่อให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้ดีขึ้น ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences) ได้มีมติเสนอให้วันที่ ๕ ธันวาคม (วันพระบรมราชสมภพ) เป็นวันดินโลก เพื่อยกย่องการทรงงานเรื่องดิน สำหรับโครงการที่สำคัญ คือ โครงการแกล้งดิน ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส เป็นตัวอย่างของการประสบความสำเร็จในการแก้แก้ปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่พรุ ทำให้สามารถปลูกข้าวและเพาะปลูกพืชไร่ได้
พระราชกรณียกิจด้านการบริหารจัดการ
ทรัพยากรป่าไม้
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ทรงพระราชดำริว่า ป่าไม้เป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของชาติ การทรงงานในเรื่องป่าไม้จึงผสานเป็นแนวทางเดียวกันกับการจัดการทรัพยากรน้ำและดิน พ.ศ.๒๕๐๔ ไทยเข้าสู่ยุคสมัยของการพัฒนา พื้นที่ป่าไม้แปรสภาพเป็นพื้นที่การเกษตร พื้นที่อุตสาหกรรม จัดสรรเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย บางพื้นที่ถูกใช้เป็นแหล่งปลูกพืชเสพติด ส่งผลให้พื้นที่ป่าลดจำนวนลง จึงทรงพิจารณาศึกษาหาแนวทางช่วยเหลือ อาทิ "โครงการหลวง พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์และพระราชทานคำแนะนำให้ชาวไทยภูเขาเปลี่ยนจากการปลูกฝิ่นมาปลูกพืชผักและดอกไม้เมืองหนาว เช่น ถั่วแดงหลวง มะเขือเทศ แอปเปิล สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน ๘๐ สาลี่ พลับ ลูกท้อ ชา และกาแฟอาราบิก้า เป็นต้น รวมทั้งพระราชทานพันธุ์สัตว์ เช่น ปลาและหมู สร้างสถานีวิจัยเกษตร และศูนย์พัฒนาพืช
พระราชกรณียกิจ ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
ต้นรัชสมัยรัชกาลที่ ๙ ช่วง พ.ศ.๒๔๙๖ การแพทย์และการสาธารณสุขของไทยยังไม่เจริญนัก เกิดโรคระบาด ได้แก่ โรคเรื้อน อหิวาตกโรค โรคโปลิโอ และโรคเท้าช้าง ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ทุนการศึกษาแก่แพทย์ที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงสร้างตึกโรงพยาบาล พัฒนาการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ
ด้วยพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ทำให้โรคระบาดที่เกิดในประเทศไทยในอดีตสงบลง และทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในภูมิภาคนี้
พระราชกรณียกิจ ด้านการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงเรียน สำหรับเป็นสถานที่ศึกษาของพระราชโอรสและพระราชธิดา บุตรหลานข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไป ได้แก่ โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนราชวินิต ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นต้นและ ทรงรับอุปถัมภ์โรงเรียนไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์และในพระบรมราชูปถัมภ์ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนไทยครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ ตั้งแต่ระดับประถม ถึงระดับปริญญาเอก ทุนพระราชทานเหล่านี้มาจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์และผู้โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการสร้างอนาคตของชาติ
พระราชกรณียกิจ ด้านศาสนา
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพุทธมามกะที่ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างมั่นคงทรงพระผนวชตามโบราณราชประเพณี ณ พระอุโบสถ วัดพรศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ และประทับศึกษาพระธรรมวินัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา
๑๕ วัน ในฐานะองค์พุทธศาสนูปถัมภก ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาตามราชประเพณี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรประจำฤดู
โดยสม่ำเสมอ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดสร้าง พระพุทธนวราชบพิตรขึ้น สำหรับพระราชทานเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด
เพื่อประดิษฐาน ณ ศาลากลางจังหวัดต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หล่อพระพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดา เพื่อพระราชทานเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ทหาร ตำรวจผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อันตรายมีความเสี่ยงสูง
(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️
หน่วยงานราชการและภาคประชาชน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ดังนี้
สำนักพระราชวัง เปิดให้วางพวงมาลา และถวายราช
สักการะ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ที่ พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล
อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อุทยานเฉลิมพระเกียรติ สนามม้านางเลิ้ง เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะวางพวงมาลา
ลงทะเบียน เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ อำนวยความสะดวกสถานที่ตั้งพวงมาลา
#๑๓ #ตุลาคม #ปีที่๗
"วันนวมินทรมหาราช"
#วันสวรรคต #รัชกาลที่๙
#"สัตตมวรรษ" #น้อมรำลึก
#พระมหากรุณาธิคุณ
#พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
#ธสถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์
(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️
“เขาเป็นเทวดา” ผู้โดยสารต่างชาติ นั่งการบินไทย เขียนข้อความไว้ วางบนเก้าอี้ ก่อนลงจากเครื่อง
เจ้าหน้าที่เดินมาเจอ หยิบขึ้นอ่านน้ำตาไหล 🙏🏻💛
กระดาษโน๊ตแผ่นเล็กๆแผ่นหนึ่ง วางไว้บนเครื่องบินของสายการบินไทย ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่เคลียร์
ผู้โดยสารลงจากเครื่องหมดแล้ว จึงสังเกตุเห็น
กระดาษโน๊ตแผ่นนี้ และหยิบขึ้นมาอ่านดู และต้องขนลุก ซาบซึ้ง ประทับใจ เพราะบนกระดาษโน๊ต
มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า...
แปลว่า... ภาวนาให้ทุกอย่างในประเทศไทยราบรื่น
มีแต่เรื่องดีๆ มีความสุข ถึง กัปตันและพนักงาน
บนเครื่องบิน TG ผมขอแสดงความเสียใจอย่างที่สุด ที่คนไทยสูญเสียพระราชาอันเป็นที่รักยิ่ง และพ่อ
ที่แสนดี แต่ท่านจะอยู่ในใจของพวกเราตลอดไป
ผมรักพระองค์ท่าน เรามาสวดมนต์ภาวนา
ส่งพระองค์ท่านกลับสู่สวรรคาลัย ไปเป็นเทวดา
อยู่บนสวรรค์!! เขาเป็นเทวดา
เอ-ริค 16 ตุลาคม 2559 จากไต้หวัน
แต่ความพยายามของชาวต่างชาติที่เขียนข้อความเป็นภาษาไทยว่า “เขาเป็นเทวดา” ยังคงสร้างความประทับใจแก่คนไทย และทำให้ยิ่งประจักษ์ว่า
“พ่อของเรายิ่งใหญ่จริงๆ”🙏🏻💛
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สถิตในใจตราบนิจนิรันดร์
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
💛💛💛💛💛💛💛💛💛
(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️