💚 Hello World !!✌🎧 🎼 🎶🎵 🎸
👉 Welcome to https://kap6p.blogspot.com 🖐 😊 ✈ Hi~ 🇫🇷 Salut~ 🧸Приве 🇯🇵はじめまして~ ✝️ 🇰🇷 하이~ 반가워요~ 🇨🇳 你好 💚 Sawad ~ Dee Ka ! ✈ #краб~✌#パウチャン~ 🎸 #뿌장~ 🙋‍♀️ #Пуу~ 🐬
🌈 #Puu 🦀⚓⛵🛬 (/≧▽≦)/~┴┴ 🌿☘️ ☆*:.。.


34c583fa075b4d668afddf590a7d1f71

💛 Bhumibol Adulyadej, 👑 King Rama IX 🙏

58ea538c1dd54f9aaaa77a97a0f25a36 👉 Welcome to https://kap6p.blogspot.com 🖐 ✈ Hi~ 🇫🇷 Salut~ 🧸Приве 🇯🇵はじめまして~ ⛄ 🇰🇷하이~ 반가워요~ 🇨🇳 你好 💚 Sawad~ Dee Ka ! 🐬 ✈ #краб~✌ #パウチャン~ 🎸 #뿌장~ 🙋‍♀️ #Пуу ~ ☃️ 🌈 #Puu~ 🦀 ⚓ ⛵ 🛬 (/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️ ☆*:.。.

Saturday, September 28, 2024

🇹🇭 Thai National Flag Day 💚
วันพระราชทานธงชาติไทย ✌

Thai National Flag Day is celebrated annually on September 28th to commemorate the day 
the tricolor flag was issued as the current 
national flag by His Majesty King Vajiravudh or King Rama VI.
#September #28th
#107 #YEAR
#Thai #National 
#Flag #Day #🇹🇭
#Majesty #King 
#Vajiravudh  #Rama #VI
/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️

วันพระราชทานธงชาติไทย  ๒๘ กันยายน
"เพราะธงชาติและเพลงชาติไทย คือ สัญลักษณ์ของความเป็นไทย คือ สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกราช ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นหรือ อาณานิคมของชาติใด รวมถึงความเสียสละของบรรพบุรุษไทยทุกยุคสมัย ในการปกป้องรักษาแผ่นดินให้คงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน"
 วันพระราชทานธงชาติไทย 
(Thai National Flag Day) เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ โดยมีสาระสำคัญ คือ การประกาศให้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้มีการประกาศไว้ ณ 
วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐
(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️

๒๘ กันยายน วันพระราชทานธงชาติไทย 
ครบรอบ ๑๐๗ ปี
- ประวัติความเป็นมาของธงชาติไทย (ธงไตรรงค์) และวันพระราชทานธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์เป็นธงชาติและเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นชาติไทยโดยธงชาติไทยนั้นมีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง ๓ สี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ ๕ แถบ แถบในสุดเป็นสีน้ำเงินซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นๆ เป็น ๒ เท่า ถัดมาด้านนอก ทั้งด้านบนและด้านล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ โดยแถบสีของธงไตรรงค์นั้นหมายถึง ๓ สถาบันหลักของประเทศไทย คือ “สีแดง หมายถึง ชาติ , สีขาว หมายถึง ศาสนา และสีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์” ซึ่งสีทั้งสามสีนี้เอง
คือ ที่มาของการเรียกชื่อ ธงนี้ว่า 
“ธงไตรรงค์” (ไตร = สาม , รงค์ = สี)
สำหรับประวัติความเป็นมาของธงชาติไทยนั้นไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่หลักฐานบางส่วนเท่าที่พบนั้นสื่อให้เห็นว่าธงชาติไทยน่าจะเกิดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๒๓๑) เนื่องจากในหนังสือจดหมายเหตุของฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่าเมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๒๒๓ เรือรบเลอโวตูร์ของฝรั่งเศสได้แล่นเข้ามาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเจริญพระราชไมตรีและทำการค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายมองซิเออร์ คอนูแอน กัปตันเรือรบเลอโวตูร์จึงได้มีใบบอกเข้าไปถามทางกรุงศรีอยุธยาว่า “จะขอยิงสลุตให้เป็นเกียรติแก่ชาติสยามเมื่อเรือรบฝรั่งเศสแล่นผ่าน
ป้อมวิไชยเยนทร์ (ป้อมวิไชยประสิทธิ์) ตามประเพณีของชาวยุโรป ทางกรุงศรีอยุธยาจะขัดข้องหรือไม่” เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบความดังกล่าวแล้วจึงทรงอนุญาตและมีรับสั่งให้ออกพระศักดิ์สงคราม (เชอวาลิเยร์ เดอ ฟอร์บัง) 
เจ้าเมืองบางกอกและผู้รักษาป้อมวิไชยเยนทร์ (ป้อมวิไชยประสิทธิ์) ในขณะนั้นไปสั่งการให้ทางป้อมยิงสลุตตอบกลับไปด้วยและเมื่อฝรั่งเศสจะทำการยิงสลุตให้นั้นทางป้อมวิไชยเยนทร์ (ป้อมวิไชยประสิทธิ์) จึงได้ชักธงชาติฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) ขึ้นเพราะในเวลานั้นสยามยังไม่มีธงชาติเป็นของตัวเอง เมื่อฝรั่งเศสเห็นดังนั้นก็ตกใจจึงไม่ยอมยิงสลุตให้ (สาเหตุที่ฝรั่งเศสไม่ยอมยิงสลุตให้นั้นเป็นเพราะว่าในขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) กำลังเป็นศัตรูกัน) และได้แจ้งให้ทางกรุงศรีอยุธยาทราบว่า “หากสยามประสงค์ที่จะให้เรือรบฝรั่งเศสยิงสลุตให้ก็เอาธงชาติฮอลันดาลงเสียแล้วชักธงอย่างใดอย่างหนึ่งในสยามขึ้นแทน” เผอิญในสมัยนั้นธงสีแดงถือเป็นธงที่สยามใช้สำหรับนำทัพ ดังนั้นสยามจึงได้ชักธงสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) ฝ่ายฝรั่งเศสจึงได้ยอมยิงสลุตให้ ด้วยเหตุนี้สยามจึงได้นำเอาธงสีแดงมาใช้เป็นธงชาติสยามในเวลาต่อมา
ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้นสยามยังคงใช้ธงสีแดงเป็นธงสำหรับเรือหลวงและเรือราษฎรตามเดิมเหมือนครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - พ.ศ. ๒๓๕๒) ทรงมีพระราชดำริว่า “เรือหลวงกับเรือราษฎรใช้ธงสีแดงเหมือนกัน ควรมีเครื่องหมายสำคัญให้เห็นแตกต่างกัน” ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปวงจักรสีขาวติดไว้ตรงกลางธงสีแดงเพื่อใช้สำหรับเรือหลวงเท่านั้น ส่วนเรือราษฎรยังคงใช้ธงสีแดงตามเดิม นับเป็นครั้งแรกที่แยกธงสำหรับเรือหลวงและเรือราษฎร

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๕๒ - พ.ศ. ๒๓๖๗) ทรงได้ช้างเผือกมาสู่พระบารมีถึง ๓ ช้าง ได้แก่ “พระยาเศวตกุญชร” , “พระยาเศวตไอยรา” และ “พระยาเศวตคชลักษณ์” นับเป็นเกียรติยศและบุญบารมีต่อแผ่นดินยิ่งนัก ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเผือกสีขาวอยู่ในวงจักรสีขาวติดไว้ตรงกลางธงสีแดงซึ่งมีความหมายว่า “พระเจ้าแผ่นดินผู้มีช้างเผือก” แต่ธงนี้ใช้สำหรับเรือหลวงเท่านั้น ส่วนเรือราษฎรยังคงใช้ธงสีแดงตามเดิม
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗ - พ.ศ. ๒๓๙๔) ทรงมีพระราชดำริว่า “ธงสีแดงที่เรือราษฎรใช้นั้นซ้ำกับประเทศอื่นๆ ทำให้สังเกตได้ยาก” ดังนั้นจึงทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรือราษฎรใช้ธงสีแดง มีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลาง แต่เอารูปวงจักรออกเนื่องจากมีเหตุผลว่า “วงจักรเป็นเครื่องหมายเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์” ส่วนเรือหลวงนั้นก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงสีขาบ มีรูปช้างเผือกสีขาวอยู่ตรงกลางซึ่งธงนี้เรียกว่า “ธงเกตุ” (ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นธงฉานของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน)

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑ - พ.ศ. ๒๔๕๓) ได้มีการตราพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับธง คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๐, พระราชบัญญัติธรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖ และพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๘ โดยทุกฉบับได้ยืนยันถึงลักษณะของธงชาติว่าเป็นพื้นสีแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกเปล่าหันหน้าเข้าหา
เสาธง

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๕๓ - พ.ศ. ๒๔๖๘) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙ กำหนดให้ธงชาติเป็นพื้นสีแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกเปล่าหันหน้าเข้าหาเสาธงเช่นเดิม

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมราชโองการประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙ กำหนดให้ธงชาติเป็นพื้นสีแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสาธง สำหรับใช้เป็นธงราชการและกำหนดให้ธงค้าขาย (ธงสำหรับประชาชนทั่วไป) เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมพื้นสีแดง มีขนาดกว้าง ๑ ส่วน ยาว ๑ ๑/๒ ส่วน มีแถบสีขาว ๒ ผืน กว้าง ๑/๖ ของส่วนกว้างของธง ทาบภายในติดตามยาว ห่างจากขอบล่างแลบนของธง ๑/๖ ของส่วนกว้างของธง (ธงดังกล่าวนี้มีแถบยาวสีแดง ๒ แถบสลับกับแถบสีขาว ๒ แถบ (มีลักษณะเหมือนกับธงชาติไทยในปัจจุบัน แต่มีเพียงสีแดงสีเดียว) ซึ่งธงนี้เรียกว่า “ธงแดงขาว ๕ ริ้ว”

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับเปลี่ยนแถบตรงกลางของธงแดงขาว ๕ ริ้วซึ่งเป็นสีแดงให้กลายเป็นสีขาบ (สีน้ำเงินเข้มเจือม่วง) แทนดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันโดยเหตุผลที่ทรงเพิ่มสีขาบลงในธงชาติสยามนั้นมาจากการที่พระองค์ท่านได้ทอดพระเนตรบทความ แสดงความคิดเห็นของผู้ใช้นามแฝงว่า “อะแควเรียส” ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ ภาษาอังกฤษ ฉบับวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า “ธงชาติสยามแบบใหม่ที่ทดลองใช้อยู่ในเวลานั้น 

(ธงแดงขาว ๕ ริ้ว) ยังมีลักษณะที่ไม่สง่างามเพียงพอและได้เสนอแนะว่าริ้วกลางของธงควรเพิ่มสีน้ำเงินลงไปอีกสีหนึ่ง ด้วยเหตุ ผลที่ว่า “๑.สีน้ำเงินเป็นสีส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ , ๒.เมื่อเปลี่ยนแปลงเช่นนี้แล้วธงชาติสยามก็จะเป็นธงสามสีในทำนองเดียวกันกับธงชาติของประเทศฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซึ่งน่าจะทำให้ทั้งสามประเทศพอใจประเทศสยามยิ่งขึ้นเพราะเสมือนว่าได้ยกย่องชาติเหล่านั้น และ ๓.การมีสีของสถาบันพระมหากษัตริย์ในธงชาติจะเป็นเครื่องเตือนใจ ให้ระลึกถึงพระองค์ท่านในวาระที่ประเทศสยามเข้าสู่เหตุการณ์สำคัญต่างๆ” ซึ่งพระองค์ท่านก็ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้และเมื่อทรงทดลองเขียนแบบ (วาดภาพ) ธงตามบทความดังกล่าวโดยการนำสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีที่ถูกโฉลกกับพระองค์เพราะว่าทรงพระราชสมภพวันเสาร์และเป็นสีทรงโปรดเพราะว่าเป็นสิริแก่พระชนมวารตามคติโหราศาสตร์ไทยนั้นมาผสมกับสีม่วงซึ่งเป็นสีตามวันพระบรมราชสมภพของพระองค์ (วันเสาร์) และได้ออกมาเป็นสีใหม่ คือ สีขาบ (สีน้ำเงินเข้มเจือม่วง) และทรงเห็นว่างดงามดีกว่าริ้วขาวแดงที่ใช้อยู่ในขณะนั้นและในเวลา

ต่อมาก็ได้ทรงมอบหมายให้พระยาประสิทธิศุภการ (เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) ไปเฝ้าฯ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสนาธิการทหารบกในขณะนั้นเพื่อนำแบบธงไปถวายเพื่อทูลขอความคิดเห็นซึ่งพระองค์ท่านก็ทรงเห็นชอบด้วยเช่นกันและมีรับสั่งว่า “ถ้าเปลี่ยนในขณะนั้นจะได้เป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ ด้วย” ดังนั้นพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีภูริปรีชา เจ้ากรมพระอาลักษณ์ในขณะนั้นร่างประกาศแก้แบบธงชาติสยามและได้ทรงนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะเสนาบดีเพื่อรับฟังความคิดเห็นซึ่งในที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบแบบธงชาติสยาม ที่คิดขึ้นใหม่ (เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุรายวัน พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๖ปีที่ ๘ ในรัชกาล เล่ม ๒ วันที่ 
๒๗ กรกฎาคมถึง ๑๔ มกราคม) ด้วยเหตุนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๑๔๖๐ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ซึ่งธงชาติสยามแบบใหม่ล่าสุดนี้ถูกเรียกว่า “ธงไตรรงค์” ตราบจนถึงปัจจุบันและในเวลาต่อมาก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “เครื่องหมายแห่งไตรรงค์” ไว้ในนิตยสารดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ สำหรับเป็นที่ระลึกในงานเฉลิมพระชนมพรรษา เล่มที่ ๑ พ.ศ.๒๔๖๑หน้า ๔๒ ซึ่งได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า “สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีเพื่อธํารงรักษาชาติและศาสนา , สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระรัตนตรัยและธรรมะอันเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความบริสุทธิ์แห่งศาสนา”) และสีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์”

โดยธงชาติสยามแบบใหม่ล่าสุดนี้ได้อวดโฉมต่อสายตาชาวโลกเป็นครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกองทหารอาสาของสยามได้เชิญไปเป็นธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร อย่างไรก็ตามธงชัยเฉลิมพลสำหรับกองทหารอาสาของสยามในสงครามโลกครั้งที่ ๑ นั้นไม่ใช่ลักษณะอย่างธงไตรรงค์ต ามที่กำหนดให้ใช้ในปัจจุบัน แต่มีการเพิ่มรูปสัญลักษณ์พิเศษลงในธงด้วย โดยด้านหน้าธงนั้นเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นในวงกลมพื้นสีแดง ลักษณะอย่างเดียวกับธงราชนาวีไทย (ทั้งนี้กำหนดแบบใหม่ให้ใช้พร้อมกันในคราวประกาศเปลี่ยนธงชาติสยามด้วย) ส่วนด้านหลังธงนั้นเป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ร.ร.๖ สีขาบ ภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมีสีเหลืองในวงกลมพื้นสีแดง ที่แถบสีแดงทั้งแถบบนแถบล่างของด้านหน้าและด้านหลังธงนั้นได้จารึกพุทธชัยมงคลคาถาบทแรก (พระคาถาพาหุง (ภาษาบาลี)) เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทหารอาสาของสยามในสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ดัดแปลงแก้ไขในตอนท้ายพระคาถาจาก “ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ” (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน) เป็น “ตนฺเตชสา ภวตุ เม ชยสิทฺธินิจฺจํ” (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยชนะจงมีแก่ข้าพเจ้าเสมอ)

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ (พ.ศ.๒๔๖๘ - พ.ศ. ๒๔๗๗) ทรงมีพระราชดำริว่า “ธงชาติได้มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งแล้ว ควรหาข้อกำหนดเรื่องธงชาติให้เป็นการถาวร” ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบรรทึกพระราชทานไปยังคณะองคมนตรีเพื่อให้เสนอความคิดเห็นของคนหมู่มากว่า “จะคงใช้ธงไตรรงค์ดังที่ใช้อยู่เป็นธงชาติต่อไปหรือ จะกลับไปใช้ธงช้างแทนหรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะธงชาติกับวิธีใช้ธงไตรรงค์อย่างไร” และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมราชเลขาธิการ (กรมราชเลขานุการในพระองค์) ตัดข่าวจากหนังสือพิมพ์เพื่อรวบรวมความเห็นต่างๆ ของสาธารณชนเกี่ยวกับธงชาติสยามเพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัยด้วย ผลปรากฏว่าความคิดเห็นของคณะองคมนตรีแตกต่างกระจายกันมากจึงมิได้กราบบังคมทูลข้อชี้ขาด ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมราชวินิจฉัยลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๐ ประกาศให้คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติสยามสืบต่อไป

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๗๗ - พ.ศ.๒๔๘๙) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙ อธิบายลักษณะของธงชาติสยามว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีขนาดกว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้าง ๒ ใน ๖ ส่วน ตรงกลางเป็นสีขาบ ต่อจากแถบสีขาบออกไปทั้งสองข้างๆ ละ ๑ ใน ๖ ส่วนเป็นแถบสีขาว ต่อจากสีขาวออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีแดง ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธงไตรรงค์”

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ (พ.ศ. ๒๔๘๙ - พ.ศ. ๒๕๕๙) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๕๒๒ มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธงชาติ คือ ธงชาติมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธงไตรรงค์”โดยพระราชบัญญัติธงทั้งสองฉบับนี้ (พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙ และพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๕๒๒) ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยความบรรยายลักษณะธงชาติในพระราชบัญญัติธงใหม่ให้ชัดเจนขึ้น แต่ยังคงรูปแบบธงตามที่ได้บัญญัติไว้ครั้งแรกในพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐เช่นเดิม ต่อมาในวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้วันที่ ๒๘ กันยายน ของทุกปีเป็น “วันพระราชทานธงชาติไทย” โดยให้เริ่มในวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีแรกเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีของธงชาติไทย แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ รวมทั้งกำหนดให้มีการชักธงและประดับธงชาติไทยในวันดังกล่าวด้วยเพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนในชาติและเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระผู้ทรงพระราชทาน
ธงชาติไทย โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ ๕๔ ของโลกที่มีวันธงชาติซึ่งการกำหนดวันธงชาติของต่างประเทศนั้นล้วนอิงกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และการสร้างชาติของแต่ละประเทศ

น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระผู้ทรงพระราชทานธงชาติไทยเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

คู่มือธงไตรรงค์ ธำรงไทย 
ฉบับปี ๒๕๖๗ 

เพลงชาติไทย เวอร์ชั่นสมัย
รัชกาลที่ ๙

เพลงชาติไทย เวอร์ชั่นสมัย
รัชกาลที่ ๑๐

เพลงธงชาติ

เพลงเครื่องหมายแห่งไตรรงค์

#ธงชาติไทย  #๑๐๗ #ปี
#๒๘ #กันยายน #๒๔๖๐
#พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
#วันพระราชทานธงชาติไทย
#สัญลักษณ์ของความเป็นไทย 
#สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️

Tuesday, September 24, 2024

MAHIDOL DAY~
24 September
๒๔ กันยายน "วันมหิดล "

His Royal Highness Prince Mahidol Adulyadej


       Somdej Phra Mahitalathibet Adulyadej Vikrom Phra Boromrajchanok was the 69th child of His Majesty King Chulalongkorn 
(Rama V) and Somdej Phra Sri Sawarinthira Boromratchathewi Phra Panwassa Aiyayika Chao.

       H.R.H. Prince Mahidol of Songkla was born in the Grand Palace on Friday, of the 3rd lunar month, in the year of the Rabbit, 1 January 1891. He was ordained as a Buddhist novice at the Temple of the Emerald Buddha on 
20 August 1904.

       When he was a young boy, he studied at the Royal School in the Grand Palace. He was later sent to study at Harrow Boarding School, a renowned public boarding school in England, and then he proceeded to study Naval Science in Germany. Upon graduation, he was commissioned as a Sub-lieutenant in both the imperial German Navy and the Royal Thai Navy. In 1916, he was given the rank of Captain and Colonel of the Royal Thai Army (Royal Guard) and then resigned from the Navy to study Public Health and Medicine at Harvard University, USA. He obtained a Certificate of Public Health and Doctor of Medicine degree Cum Laude, and was appointed a member of the Official Honor Society Medical Study Alpha Omega Alpha as well.

        H.R.H. Prince Mahidol of Songkla married Ms. Sangwan Talapat (Somdej Phra Srinagarindra Borommaratchachonnani) on 10 September 1920 at Sra Pathum Palace, with three children, namely:

 Her Royal Highness Princess Galayani Vadhana Krom Luang Naradhiwas Ratchanakarin
 His Majesty King Ananda Mahidol Phra Athamaramathibodin
 His Majesty King Bhumibol Adulyadej the Great

       H.R.H. Prince Mahidol of Songkla was the Director General of the Department of Universities, Ministry of Education; Governor Inspector General Education; President of the Faculty of Medicine and Siriraj Hospital; Siam Red Cross Society Committee; Chairman of the Vajira Hospital Board of Directors; Special Lecturer, Faculty of Arts and Faculty of Science, Chulalongkorn University; and a physician at McCormick Hospital.

       H.R.H. Prince Mahidol of Songkla passed away on 24 September 1929, at the age of 37 years, 8 months, 23 days.

#MAHIDOL #DAY
#24 #September #2024
#Royal #Highness #Prince #Mahidol #Adulyadej #H.R.H.#MahidolofSongkla

(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร 
อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พันเอก(พิเศษ) จอมพลเรือ นายกองเอก นายแพทย์ ดร.สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (1 มกราคม พ.ศ. 2434 – 24 กันยายน พ.ศ. 2472) พระนามเดิม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นต้นราชสกุลมหิดล ซึ่งเป็นราชสกุลที่ปกครองประเทศไทยอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็น​สมเด็จพระบรมราชชนก (พ่อ) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นสมเด็จพระบรม
อัยกาธิบดี (ปู่) ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

มีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา 7 พระองค์ มีพระคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทยประชาชนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามว่า "กรมหลวงสงขลานครินทร์" หรือ "สมเด็จพระราชบิดา" และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า "เจ้าฟ้าทหารเรือ" และ "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า "เจ้าฟ้ามหิดล"
หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกก็ประชวร ต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. ด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกนะ (ตับ) โดยมีโรคแทรกซ้อนคือพระปัปผาสะบวมน้ำและพระหทัยวาย สิริพระชนมายุได้ 38 ปี 267 วัน

เกิด : 
๑ มกราคม ๒๔๓๕ กรุงเทพมหานคร

เสียชีวิตเมื่อ : 
๒๔ กันยายน ๒๔๗๒ กรุงเทพมหานคร

บุตร : 
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

คู่สมรส : 
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 
(สมรส พ.ศ. ๒๔๖๓–พ.ศ.๒๔๗๒)

หลาน : 
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

บิดา/มารดา : 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การศึกษา : 
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, 
สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์, โรงเรียนแฮร์โรว์

#๒๔ #กันยายน #วันมหิดล
#สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร 
#อดุลยเดชวิกรม 
#พระบรมราชชนก
#กรมหลวงสงขลานครินทร์

(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️

Saturday, September 21, 2024

#Save Governor of
The Bank of Thailand 🇹🇭
#Saveผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย
(#SAVEผู้ว่าแบงค์ชาติ)

Governor of The Bank of Thailand 🇹🇭 
Mr.Setthaput Suthiwatanaruput
 ~༺✿*¨`*•.¸♡¸.•~💚
#SaveGovernor~The Bank of Thailand #🇹🇭
#Save #Governor 
#Bank #Thailand 
#Setthaput #Suthiwatanaruput

(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
เศรษฐพุฒ 
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จบปริญญาเอก
ทางด้านเศรษฐศาสตร์ มาจากมหาวิทยาลัยเยล
ในอเมริกา ทำงานเวิลด์แบงก์มา ๑๐ ปี 
มีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

มุมมองความคิด หรือ วิสัยทัศน์
ทางด้านระเบียบวินัยการเงิน
การคลังของเขานั้นมั่นคง
เข้มแข็งเด็ดเดี่ยวเป็นเลิศ

แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้น
สภาพคล่อง แก้ปัญหาหนี้สินเพื่อสร้างอาชีพรายได้ให้เศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่น เพื่อความมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนของเขานั้น ก็ตั้งอยู่บนฐาน
ข้อมูลอันเป็นจริงมีเหตุมีผลปฏิเสธไม่ได้

(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️

เรียนผู้พี่น้องประชาชนทุกท่านทราบ 

ในขณะที่“ท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย” 
กำลังถูกกดดันอย่างหนัก

เราต้องอย่าปล่อยให้คนดี ต้องโดดเดี่ยว อย่าปล่อยให้คนที่ปกป้องเศรษฐกิจ ของประเทศไทยต้องโดดเดี่ยว อย่าปล่อยให้คนที่ยืนข้างความถูกต้องต้อง
โดดเดี่ยว

ร่วมกันเป็นลมใต้ปีก ให้กับท่านผู้ว่าฯ ร่วมกัน
แสดงพลัง ร่วมกันสนับสนุนคนดีที่ทำในสิ่ง
ที่ถูกต้อง เพื่อแผ่นดินไทย  🇹🇭

โดยการร่วมกันโพสต์และ
ช่วยกันแชร์ภาพนี้และติดแฮชแทค

#SAVEผู้ว่าแบงค์ชาติ 👇
1 เสียงช่วยกันแชร์
1 เสียงช่วยประกาศ
1 เสียงที่ช่วยชาติ
👉 คืออำนาจล้างอธรรม!!

#Saveผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย #🇹🇭
#SAVEผู้ว่าแบงค์ชาติ
#ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
#ผู้ว่า #ธนาคาร 
#แบงค์ชาติ #ประเทศไทย
#เศรษฐพุฒิ #สุทธิวาทนฤพุฒิ 
#สู้ๆ 👋 🤟 💚  
☆*:.。. o(≧▽≦)o .。.:*☆ 
(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️

Tuesday, September 17, 2024

Mekong bursts into
Nong Khai and Bueng Kan
👉 หนองคายหนักแล้ว 🇹🇭

Two days of heavy rain have led to flooding of 
up to 2 metres in parts of Nong Khai province, prompting residents to take swift action to protect their homes

The Nong Khai Mekong Hydrological Cycle Observation Station reported on Saturday that
the river reached a level of 13.67m at around 9am, an increase of 57 centimetres since the previous day, overflowing by 1.47m following 
the recent downpours.

According to station’s forecasters, water levels 
will continue to rise until Monday, due to continuous rainfall, potentially causing flooding 
to encroach further into the province’s economic centre.

Heavy rain in recent days has been triggered by Typhoon Yagi, which has caused widespread damage and dozens of deaths across Southeast Asia, from the Philippines to Myanmar. Flooding 
in parts of northern Thailand, notably Chiang Rai, has been the worst in years.

With inundation in Nong Khai reaching over 
a metre in some areas, local residents have relocated personal vehicles to higher ground 
and have placed sandbag barriers around their homes.

#Mekong #River
#Nongkai #Province
#Thailabd #🇹🇭

Credit : Bangkokpost 
(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️

👉 หนองคายหนักแล้ว 
ขอเป็นกำลังใจให้พี่น้อง
ชาวหนองคายเด้อ✌


หนองคายเฝ้าระวัง! น้ำท่วมตลิ่ง 
ล้นทะลักเข้าเมือง เจ้าหน้ที่เร่งมือ 
ช่วยเหลือประชาชน 👇


สภาพน้ำท่วม นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ขยายวงกว้างริมแม่น้ำโขง  ส่งผลกระทบต่อเนื่องมายั จ.หนองคาย ของไทย 

#น้ำท่วมหนองคาย
#หนองคาย #จังหวัด
#น้ำท่วม #แม่น้ำโขง
#ประเทศไทย #🇹🇭

(/≧▽≦)/~┴┴🌿☘️